“รศ.ดร.พาสิทธิ์” รองปลัด อว. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อน งานวิจัย และพัฒนาบุคลากร ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นที่จะเปลี่ยนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรม ให้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สอดรับกับนโยบาย
“รศ.ดร.พาสิทธิ์” รองปลัด อว. ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อน งานวิจัย และพัฒนาบุคลากร ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นที่จะเปลี่ยนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรม ให้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สอดรับกับนโยบาย "Soft Power" ของรัฐบาล (ระหว่างวันที่ 9 - 11 ตุลาคม 2566)
เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ศ.นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัย ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย” จัดโดยสำนักงานบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (สบว.) เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน 3 ปี ของวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ ธัชชา และทั้ง 5 สถาบันภายใต้ธัชชา ได้แก่ สุวรรณภูมิศึกษา เศรษฐกิจพอเพียง โลกคดีศึกษา พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ และช่างศิลป์ท้องถิ่น เพื่อถอดบทเรียนองค์ความรู้ เครื่องมือกลไก และแนวทางขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน โดยมี รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ
ศ.นพ.สุรพล กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัย ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นโครงการที่สำคัญเพื่อพัฒนาทางด้านต่างๆ การที่กระทรวง อว. ทำให้เกิดโครงการนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง งานทางด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ กับคน ก็เปรียบได้เหมือนสมอง และหัวใจของคน ซึ่งต้องทำงานร่วมกัน และถือเป็นโอกาสดีที่ราชบัณฑิตยสภาได้มีโอกาสมารับฟังความคืบหน้า ถอดบทเรียนต่างๆ วิเคราะห์ผลการศึกษาว่าสามารถบรรลุเป้าหมายหรือไม่ เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือโลก เพื่อที่จะสามารถต่อยอดได้ในอนาคต
ด้าน รศ.ดร.พาสิทธิ์ กล่าวว่า “ธัชชา” ต้องการขับเคลื่อนองค์ความรู้งานวิจัย ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรทางวิชาการ ทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านนี้สูงมาก แต่ยังไม่ได้นำต้นทุนเหล่านี้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้เกิดผลทางเศรษฐกิจ และทางสังคมเท่าที่ควร ปัจจุบัน ธัชชา ได้ดำเนินการมาแล้ว 2 ปี 8 เดือน ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมในการประเมินโครงการซึ่งสอดคล้องกับมติคณะผู้ตรวจสอบทางวิชาการของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ได้ให้มีการประเมินโครงการเป็นระยะๆ สำหรับการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สถาบันทั้ง 5 ของธัชชา ได้นำเสนอผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการ รวมทั้งตอบข้อซักถาม และรับฟังข้อเสนอแนะถอดบทเรียนความสำเร็จ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้การประเมินการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัย ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยนี้ มุ่งเน้นการผสมผสานแนวคิดการบริหารงานร่วมกันของทั้ง 5 สถาบัน โดยสามารถรายงานผลการดำเนินงานโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าที่เกิดจากการดำเนินโครงการ ตามที่ วช. กำหนด และสามารถประเมินภาพรวมที่จะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติและภูมิภาค โดยเน้นไปที่การประเมิน ผลผลิต (Output) 4 ด้าน (องค์ความรู้ ฐานข้อมูล การพัฒนาคนภาคีเครือข่าย) ตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategie Target) รวมถึงการประเมินกิจกรรม โครงการเด่นที่ก่อให้เกิดผลกระทบ (Impact) ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านวิชาการ รวมถึงถอดบทเรียนความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาอุปสรรค หรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมทันท่วงที และใช้ประกอบการจัดทำแผนการดำเนินโครงการระยะต่อไปได้อย่างเหมาะสม
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?