รมว.อว. เป็นประธานเปิดการเสวนา “สร้างพื้นที่เรียนรู้จากอดีตสู่อนาคตเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม”




เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนาวิชาการ “สร้างพื้นที่เรียนรู้จากอดีตสู่อนาคตเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม” โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ, ศ.ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร, อาจารย์ธนภณ วัฒนกุล คณะกรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ, อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์   คณะกรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ, ศ.เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง  ศิลปินแห่งชาติ, นายโตมร ศุขปรีชา ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน), นายอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี จิตรกรและนักศิลปะบำบัดและผู้อำนวยการสถาบันศิลปะบำบัดในแนวมนุษยปรัชญา และ ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน หัวหน้าทีมวิจัย โครงการพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) 

  ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ทำไมต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนผ่านพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ” ใจความโดยสังเขปว่า วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องมีการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความรู้ความสามารถมากเป็นพิเศษ มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของเด็กไทย โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่หลากหลายบริษัทขอซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปใช้และพัฒนาต่อ รวมถึงเยาวชนไทยได้คว้ารางวัลจากการแข่งขันในระดับโลกได้หลากหลายรางวัล แสดงให้เห็นว่าเด็กไทยมีความสามารถไม่แพ้ชาติใดในโลก  และนอกจากศึกษาด้านวิทยาศาสตร์แล้ว เราจำเป็นจำต้องมีความสนใจด้านศิลปศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดจินตนาการที่มีความสร้างสรรค์อย่างรอบด้าน

ภายในงานมีการเสวนาวิชาการหัวข้อ “สร้างพื้นที่เรียนรู้จากอดีตสู่อนาคต เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม” โดย

ศ.เกียรติคุณ ปรีชา กล่าวว่าแนวทางการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม ต้องทำให้เกิดการสังเคราะห์ได้แบบองค์รวม ทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และอย่าใช้เครื่องมือสำเร็จรูป ต้องให้เด็กได้ลงมือทำจริง

นายโตมร กล่าวว่า พื้นที่เรียนรู้มีลักษณะเป็น ‘อุปทาน’ (Supply) ของความรู้ พื้นที่เรียนรู้จะเป็นเหมือนจุดโฟกัสของความรู้ ที่ทำให้เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ขึ้นในพื้นที่นี้ และเป็น ‘ปลายทาง’ (Destinations) ของการสร้าง ‘อุปสงค์’ (Demand) ทางความรู้ในสังคม คือเมื่อกระตุ้นให้คนอยากเรียนรู้แล้ว จำเป็นต้องมีพื้นที่เรียนรู้ให้ได้ไปหาความรู้ด้วย



  นายอนุพันธุ์ ให้ความเห็นถึงรูปแบบการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรม ต้องมีความหลากหลายของแนวคิดศิลปะที่เชื่อมโยงกับเด็กได้อย่างแท้จริง ต้องมองจุดนี้ให้เป็นต้นแบบในการสร้างวิถีศิลปะในชีวิตให้ได้จะส่งผลดีในการขยายไปสู่ระดับเด็ก พ่อแม่ ครอบครัว ชั้นเรียนและกิจกรรมเขิงสร้างสรรค์สร้างความประณีตให้กับเด็กในรูปแบบกระบวนการต่างๆ

          ทางด้าน ดร.สรวงมณฑ์ กล่าวว่า นี่เป็นหนึ่งในการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการจัดตั้ง “สถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์หลักในการสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดการจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ และพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

โครงการฯ นี้ เริ่มดำเนินการมาได้ 2 ปีแล้ว มีการศึกษาค้นคว้าในเชิงวิชาการ และลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย และบูรณาการพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผ่านเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน มีเครือข่ายกว่า 30 แห่งจาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ

          ผลจากการศึกษาวิจัยและการลงพื้นที่ในแต่ละภูมิภาค ได้นำมาสู่การดำเนินงานในระดับที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง คือการค้นหาวิสัยทัศน์และพันธกิจของพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งความคิดเห็น และข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้จากการเสวนาในครั้งนี้ จะนำไปพัฒนาต่อยอดสู่การดำเนินโครงการพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนผ่านคุณค่าทุนทางศิลปกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติต่อไป

 

ทำข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
ถ่ายภาพ : นายสกล นุ่นงาม
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313




This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่