อว. จัดประกวดสื่อสร้างสรรค์รูปแบบวิดีโอ เล่าเรื่องสะท้อนความพอเพียงที่ยั่งยืนของชุมชน หวังสร้างการรับรู้และเข้าใจพลังของความพอเพียงตามหลักปรัชญา ของ ร.9 เชื่อมโยงแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่แบบ BCG สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน



อว. จัดประกวดสื่อสร้างสรรค์รูปแบบวิดีโอ เล่าเรื่องสะท้อนความพอเพียงที่ยั่งยืนของชุมชน หวังสร้างการรับรู้และเข้าใจพลังของความพอเพียงตามหลักปรัชญา ของ ร.9 เชื่อมโยงแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่แบบ BCG สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน


   เมื่อวันที่ 31 ก.ค. นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าวกิจกรรมการประกวดสื่อ โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ เล่าเรื่องบทสะท้อนความพอเพียงที่ยั่งยืนของชุมชนในรูปแบบวิดีโอ ในหัวข้อ “หนึ่งเรื่องพอเพียง หล่อเลี้ยงชุมชน” ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการภายใต้ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ของวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือ “ธัชชา” สำนักปลัดกระทรวง อว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยมี รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดี มทร.สุวรรณภูมิ นางสาวฉัตต์ธิดา บุญโต ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (สบว.) คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินโครงการประกวดสื่อฯ คณะกรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนโยธี)


   นายวันนี กล่าวว่า โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ เล่าเรื่องบทสะท้อนความพอเพียงที่ยั่งยืนของชุมชนในรูปแบบวีดิโอ ในหัวข้อ “หนึ่งเรื่องพอเพียง หล่อเลี้ยงชุมชน” เป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกิดจากความตระหนักในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมหนุนเสริมการสร้าง Soft Power ไทยออกสู่สาธารณชนโลก โดยชี้ให้เห็นการน้อมนำ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการดำเนินชีวิตของคนไทย สู่การใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจปัจจุบันด้วยรูปแบบ BCG Economy Model เพื่อการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยกลุ่มเป้าหมายเน้นไปที่กลุ่มเยาวชน คนรุ่นใหม่ ให้เข้าใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการเรียนรู้รากเหง้าของชุมชน ที่ว่า "รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน เห็นอนาคต" ในทุกมิติ ทั้งสังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญาของคนไทย การประพฤติปฏิบัติ การศึกษา และการสืบทอดวัฒนธรรม และนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจและมีพลังนี้ผ่านสื่อวิดีโอและ สื่อสังคมออนไลน์สมัยใหม่ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดแรงกระเพื่อมในสังคมและเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับ



    “ผมมั่นใจว่าโครงการนี้ นอกจากจะสร้างการรับรู้และเข้าใจถึงพลังของความพอเพียงตามหลักปรัชญา ของ ร.9 เชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่แบบ BCG สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้ว ยังเพิ่มการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยฐานพลังของชุมชนเอง ผ่านการนำเสนอเรื่องราวของชุมชนท้องถิ่นวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ความรู้ และการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และนั่นคือ Soft Power ที่จะปลุกคนไทยและคนทั่วโลก ให้เห็นคุณค่าของชุมชนท้องถิ่นที่มีของดีอยู่ทั่วประเทศ ผ่านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมจะเผยแพร่สืบทอดและนำไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่ยั่งยืนต่อไป ซึ่งเป็นไปตามนโยบายกระทรวง อว. ในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัย เข้าใจและภาคภูมิใจในชาติไทย มีรากฐานจิตสำนึกรักความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและหลักคิดที่ถูกต้องต่อชาติบ้านเมืองและสถาบันสำคัญของชาติต่อไป” ผู้ช่วยปลัด อว. กล่าว



This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่