อว. เข้าพบ ประธานองคมนตรี รายงานผลงานวิจัยการใช้ LiDAR สำรวจร่องรอยประวัติศาสตร์ไทย




เมื่อวันที่ 1 กย. 66  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เข้าพบพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยหน่วยงานของ อว. ได้แก่ สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา วิทยสถานสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา), GISTDA, นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รายงานผลงานวิจัยการดำเนินงานการใช้เทคโนโลยี LiDAR เพื่อการสำรวจทางโบราณคดีและแหล่งมรดกวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งทีมวิจัยได้นำเสนอกระบวนการและข้อค้นพบจากการใช้เทคโนโลยี LiDAR บินสำรวจพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง เมืองโบราณเวียงท่ากาน เมืองโบราณคูบัว รวมถึงได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัยด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุวรรณภูมิศึกษาในดินแดนประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง 




ทั้งนี้ ประธานองคมนตรี ให้ข้อแนะนำว่า การศึกษาเกี่ยวกับ สุวรรณภูมิศึกษา ในประเด็น “สุวรรณภูมิ : อารยธรรมเชื่อมโยงโลก” ควรพิจารณามิติให้ครบทุกด้าน เช่น การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยี การค้า การศาสนา งานศิลปกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของพุทธศาสนาระหว่างดินแดนในประเทศอินเดียกับประเทศไทย นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย จีน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ด้วย รวมถึงแนะนำให้กระทรวง อว. ใช้ศักยภาพที่มีด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเทคโนโลยี ด้านการวิจัย ให้เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อสนับสนุนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อยกระดับการรับรู้ การอนุรักษ์ การท่องเที่ยว แหล่งมรดกทางวัฒธรรมของประเทศต่อไป 



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว ผู้อำนวยการสถาบันสุวรรณภูมิศึกษาของธัชชา กล่าวเสริมว่า อว. โดย ธัชชา ได้ขับเคลื่อนงานวิจัยร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ริเริ่มโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์บูรณาการการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของประเทศและภูมิภาค ด้วยการเริ่มต้นนำ 3 เทคโนโลยีที่สำคัญ คือ การใช้เทคโนโลยีการสำรวจด้วย LiDAR เพื่อสร้างฐานข้อมูลการเชื่อมโยงเส้นทางแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ, การสร้างฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมมนุษย์และสัตว์โบราณ (DNA) และ การสร้างเครื่องกำหนดอายุด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ Carbon AMS Dating ครั้งแรกในประเทศ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการค้นคว้าเปิดหน้าประวัติศาสตร์โบราณคดีของประเทศไทย ที่ย้อนถอยไปไกลกว่าหลายพันปี ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ยืนยันการค้นพบและเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดี สร้างการรับรู้และความภาคภูมิใจเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมบนผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินประเทศไทยต่อไป 





This website uses cookies to help us to provide you with a good experience when you use the website and also allows us to improve the website. By continuing to use the website, you are agreeing to us placing cookies on your computer or read cookie Privacy Policy . You are agreeing to us placing cookies on your computer
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่