บทความชวนอ่าน บ้านท่าม่วงด้นไปกับกระแสน้ำชีที่เปลี่ยนแปลงไป



บ้านท่าม่วงด้นไปกับกระแสน้ำชีที่เปลี่ยนแปลงไป

           “มโนราห์นี่น่ะหรือที่เขาลือว่าเรือท่าม่วง ขอเชิญพี่น้องทั้งปวง โปรดจงจำไว้ให้ดี

           เรือวิ่งไม่ต้องบอกใคร ไฉไลก็ปานเทพี เทียบท่าก็สวยดี ในลำน้ำชีไม่มีใคร ที่จะไฉไลเท่ามโนราห์”

           เพลงมโนราห์ท่าม่วง ประพันธ์คำร้องโดย เกียรติ สุทธิประภา และให้ทำนองโดย ฉลาด ไชยสิงห์ เป็นเพลงที่ชาวบ้านท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำชีตั้งใจแต่งขึ้นมาเพื่อจะบอกเล่าถึงเรื่องราวอัตลักษณ์เรือยาวที่มีความสำคัญกับวิถีชุมชนของผู้คนกับสายน้ำ ที่ผูกพันกันมาอย่างยาวนาน เป็นสิ่งยืนยันอีกเสียงว่าชาวบ้านท่าม่วงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแม่น้ำชีทั้งในทางวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรม

มโนราห์ท่าม่วง เรือแห่งจิตวิญญาณและสายน้ำชี


บ้านท่าม่วง ริมฝั่งชี หมุดหมายใหม่ของชาวลาวอพยพ

           บ้านท่าม่วงเป็นเพียงจุดเล็กๆ หากเทียบกับความยาวของแม่น้ำชี ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ไหลผ่านหลายจังหวัดด้วยกัน คือ ชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี และศรีสะเกษ ซึ่งมีลำน้ำสาขาด้วยกันหลักๆ ห้าลำน้ำ คือ ลำน้ำพรม ลำน้ำพอง ลำน้ำเซิน ลำน้ำปาว และลำน้ำยัง ถือได้ว่าเป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในอีสานเลยก็ว่าได้

           แม่น้ำชีจึงเต็มไปด้วยอาหาร ความมีชีวิตชีวาของผู้คน รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมที่ถือกำเนิดจากแม่น้ำสายยาวสายนี้ ชาวบ้านท่าม่วงเองก็ถือเป็นหนึ่งชุมชนที่มีความผูกพันกับแม่น้ำชีทั้งชีวิตและจิตวิญญาณ บรรพบุรุษของพวกเขามีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากแขวงเมืองเวียงจันทน์ ประเทศสปป.ลาว โดยผู้นำในการโยกย้ายหาที่ทางใหม่นี้คือ “ตาสุทธิ์” และ “ยายบัปภา” จึงเป็นที่มาของสายตระกูลสุทธิประภา ที่เป็นนามสกุลของผู้คนส่วนใหญ่ของหมู่บ้านท่าม่วงในปัจจุบัน

           ในวัฒนธรรมลาว อีสานเรียกการหาแหล่งที่อยู่ใหม่นี้ว่า “บ้านใหม่” หมายถึงการเสาะแสวงหาถิ่นที่ตั้งบ้าน ตั้งเมืองใหม่เพื่อความอุดมสมบูรณ์ที่ดีกว่าเดิม กล่าวคือบรรพชนรุ่นก่อนเดินทางมาถึงบริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำชี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์จึงเลือกที่จะตั้งถิ่นฐานและใช้นามว่าบ้านท่าม่วง

           จากตำนานในท้องถิ่นกล่าวว่า ที่ได้ใช้ชื่อนี้เนื่องจากท่าอาบน้ำมีต้นมะม่วงขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ดินแดนที่ตั้งใจจะมาฝากฝังรกรากใหม่กันในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดในครั้งแรกนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากบริเวณนี้มีน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง จึงมีการตัดสินใจโยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำชีในช่วง พ.ศ. 2110 บนเนื้อที่ประมาณ 28 ไร่ ที่มีลักษณะที่ตั้งเป็นโนนน้ำท่วมไม่ถึง ชาวท่าม่วงจึงได้สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ ณ บริเวณแห่งนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จนมีความผูกพันกับสายน้ำชีในหลากมิติ ทั้งความเชื่อ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

อ่านบทความฉบับเต็ม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น คุณยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ หรืออ่านนโยบายสิทธิส่วนบุคคล อ่านนโยบายการใช้คุกกี้ คุณยินยอมให้เราเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้
ChatBot cancel

สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?

ChatBot cancel
สวัสดีฉันคือแชทบอทจาก
ธัชชา ฉันสามารถช่วยอะไรได้บ้าง?
powered by Eventpass

ธัชชา มีสถานะเป็นหน่วยงานภายในระดับกองของสำนักปลัดกระทรวง อว. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TASSHA, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง อว.

ติดตาม "ธัชชา" ได้ที่